top of page
รูปภาพนักเขียนAI Think Tank

การประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกร่วมส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการแพทย์

บทคัดย่อ

การประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกครั้งที่ 16 เป็นระยะเวลา3วันได้สิ้นสุดไปแล้วเรียบร้อย นักธุรกิจชาวจีนและชาวจีนโพ้นทะเลกว่า 4000 คนจาก 50 กว่าประเทศทั่วโลกต่างเข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ การประชุมครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังเป็นเหตุการณ์สำคัญในประวัติศาตร์ครั้งใหม่ของการพัฒนาการพูดคุยร่วมกันของนักธุรกิจชาวจีนทั่วโลก และเป็นการส่งเสริมโอกาสในการร่วมมือกันด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทย-จีน บทความนี้จะอธิบายทั้งหมด 7 ด้านว่านักธุรกิจชาวจีนทั่วโลกส่งเสริมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมระหว่างไทย-จีนอย่างไร

- ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าไทย-จีนจากมุมมองการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก

- การเชื่อมความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยและจีนระหว่างการประชุมนักธุรจีนให้ แน่นแฟ้น

- สภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์จีน

- สภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย

- สภาพโดยรวมของโรงพยาบาลไทย

- โอกาสความร่วมมือของห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ระหว่างไทย-จีน

- ศูนย์ความร่วมมือด้านการแพทย์ระหว่างไทย-จีน ณ มหาวิทยาลัยสยาม เพื่อช่วยเหลือบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ของประเทศจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย

คำสำคัญ: การประชุมนักธุรกิจจีนโลก การลงทุนในประเทศไทย ห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์



วันที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2566 เปิดพิธีการประชุมนักธุรกิจโลก มีคำกล่าวว่า “รับใช้คนทั่วหล้า ดุจดั่งเขาสนใจในร่างกายตน จึงมอบโลกวิมลให้เขาดูแล ด้วยรักโลกนี้แน่แท้ดั่งชีวิตตน จึงฝากโลกวิมลให้เขาดูแล” นักธุรกิจจีนมีวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมที่เหมือนกัน มีแหล่งกำเนิดของชนเผ่าที่คล้ายกัน มีความเป็นห่วงเป็นใยกันดั่งเลือดที่ข้นกว่าน้ำ การประชุมครั้งนี้ มีหัวข้อหลักคือ “ผสานความรอบรู้อันยิ่งใหญ่ของนักธุรกิจจีน เพื่อสร้างบทบาทใหม่ให้กับชาวจีน” มีการพูดคุยอย่างลึกซึ่งในแต่ละหัวข้อ ไม่ว่าจะเป็น การรวบรวมผู้มีความรู้และความสามารถเพื่อพัฒนานักธุรกิจจีนไปทั่วโลก การเพิ่มแรงผลักดันและความแข็งแกร่งเพื่อให้เศรษฐกิจโลกกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง เสาะหาการส่งเสริมการพัฒนาและการฟื้นฟูเศรษฐกิจโลกหลังช่วงการแพร่ระบาดโควิด สภาวะทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและความได้เปรียบด้านการลงทุน จุดพลิกเปลี่ยนของ“หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” /RCEPและโครงการอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า (Guangdong -Hongkong-Macao Greater Bay Area) แนวคิดการทำธุรกิจของนักธุรกิจจีน การสืบทอดและพันธกิจของนักธุรกิจจีนรุ่นใหม่ โดยอาศัยการประชุมในครั้งนี้ เป็นโอกาสให้นักธุรกิจจีนทั่วโลกอาศัยข้อได้เปรียบของตนในการระดมทรัพยากรที่มีปัญญารอบรู้ เปิดโลกทัศน์และสร้างความอัจฉริยะใหม่ๆในด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยีตามแนวพรมแดน นี่ถือเป็นการแสดงให้เห็นถึงจิตใจเอื้ออารีของนักธุรกิจจีนทั่วโลกอย่างชัดเจนอีกครั้งหนึ่ง แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาดของนักธุรกิจจีนทั่วโลก ขยายนักธุรกิจจีนและเพิ่มพูนมิตรภาพของนักธุรกิจจีนไปทั่วโลก เป็นงานประชุมครั้งยิ่งใหญ่ที่เปล่งประกายพลังความสามารถของนักธุรกิจจีนรุ่นใหม่จากทั่วทุกมุมโลก

ถ่ายภาพหมู่กับคุณหลี่ กุ้ยเซียง ประธานบริหารของคณะกรรมการการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกและนายกสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน


ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าไทย-จีนจากมุมมองการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ของโลก

ในงานพิธีเปิดการประชุมนักธุรกิจชาวจีนโลกครั้งที่ 16 มีคุณเกา อวิ๋นหลง รองประธานสภาที่ปรึกษาการเมืองแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานสมาพันธ์สภาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์แห่งประเทศจีน (All-China Federation of Industry and Commerce) กล่าวต้อนรับ พร้อมรอคอยที่จะได้ร่วมกันส่งเสริมการสร้างเศรษฐกิจของไทยและจีน ร่วมกันพัฒนาวิสาหกิจเอกชนและธุรกิจของนักธุรกิจชาวจีน แสวงหาความผาสุกให้กับประชาชนของทั้งสองประเทศ ซึ่งแสดงให้เห็นท่าที การรวมตัว และความสามัคคีกลมเกลียวของชาวจีน นอกจากนั้นแล้วยังแสดงให้เห็นถึงอุปนิสัยของชาวจีนอีกด้วย

คุณเฉิน ซวี่ ผู้อำนวยการสำนักงานกิจการชาวจีนโพ้นทะเลแห่งคณะรัฐมนตรี สาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมความทันสมัยของประเทศจีน ประธาน วั่น ลี่จวิ้น เน้นย้ำว่าความสามัคคีคือพลัง ความเจริญก้าวหน้าและการแบ่งปันโอกาสใหม่ในยุคสมัยใหม่ของจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งได้กล่าวฝากไว้ถึงสามความเชื่อ นั่นคือเชื่อมั่นในตนเอง เชื่อมั่นในอนาคต เชื่อมั่นในประเทศจีน

คุณหลู่ กั๋วอี้ รองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการพรรคจือกง ตั้งตารอที่จะส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูล และรวบรวมทรัพยากรระหว่างนักธุรกิจจีนทั้งในและต่างประเทศ ร่วมแรงร่วมใจกัน รวมพลังความสามัคคีของ “คนจีน” “โพ้นทะเล”ให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น นายธนินท์ เจียรวนนท์ นายกสมาคมนักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน และประธานกิตติมศักดิ์ถาวรหอการค้าไทย-จีนกล่าวเน้นย้ำว่า เทคโนโลยีเป็นกุญแจสำคัญในการทำการค้าขายระหว่างประเทศในยุคสมัยใหม่ พวกเรามีความเชื่อมั่นในนโยบายเศรษฐกิจของประเทศจีนอย่างเต็มเปี่ยม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสนับสนุนนโยบาย “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” ของประธานาธิบดี สีจิ้นผิง นี่เป็นการทำให้เขตพื้นที่มีการพัฒนาร่วมกัน เป็นแนวทางการหาผลประโยชน์ร่วมือกันของทั่งสองฝ่าย “การเดินทางคนเดียวอาจจะเดินได้ แต่การเดินทางร่วมกันนั้นจะยืนยาวกว่า” ความรู้และแรงจูงใจเท่านั้นที่สามารถทำให้ลุล่วงปลอดภัยไปได้ ในโอกาสการประชุมนักธุรกิจจีนโลกครั้งที่ 16 ประจวบกับการผันเปลี่ยนรัฐบาลชุดใหม่ของประเทศไทย ความทันสมัยก้าวหน้าของประเทศจีนได้รับความสนใจอย่างแพร่หลาย จีนได้กล่าวถึงแนวคิดของการสร้างชุมชนที่มีอนาคตร่วมกันสำหรับมนุษยชาติด้วย "ข้อเสนอสามประการ" และ "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ปัจจัยสะสมใดที่จะนำมาซึ่งสันติภาพและการพัฒนาของโลก? การพัฒนาคุณภาพที่ดีและมาตรฐานที่สูงของประเทศจีนให้โอกาสใดบ้างกับประเทศไทย? จะมีส่วนร่วมกับรูปแบบการพัฒนาใหม่ๆอย่างไร? ชาวจีนและชาวจีนโพ้นทะเลจะเพิ่มความสามารถในการอยู่รอดความสามารถในการแข่งขัน การพัฒนา และความยั่งยืนท่ามกลางพายุและคลื่นที่ปั่นป่วนจากสิ่งที่คาดการณ์ได้และคาดการณ์ไม่ได้อย่างไร?

มองความร่วมมือทางการค้าระหว่างไทย-จีนจากการแปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ความท้าทายระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็น สถานการณ์โควิด การแข่งขันด้านภูมิศาสตร์ การต่อต้านโลกาภิวัฒน์ ค่อยๆแสดงให้เห็นในความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีนและการพัฒนาเศรษฐกิจของสังคมไทย การพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูงอย่างช้าๆ ความเสียหายจากการส่งออกสินค้าอย่างต่อเนื่อง ปัจจัยลบเช่นความยากลำบากของบริษัทจีนในการเข้ามาลงทุนในประเทศไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่สอดคล้องต่อความต้องการของประเทศไทย และไม่สอดคล้องกับคำว่า “ไทย-จีนพี่น้องกัน” อีกด้านหนึ่งนั้น การแข่งขันทางภูมิศาสตร์ (ความได้เปรียบทางภูมิศาสตร์) นำมาซึ่งโอกาสที่หาได้ยากสำหรับประเทศไทยและประเทศอื่นๆในเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยได้มีการเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยแล้ว และมีพรรคการเมืองที่มีประสบการด้านการจัดการเศรษฐกิจเข้าร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งจะช่วยดึงดูดบริษัททั่วโลกเข้ามาลงทุนในประเทศไทย



มีคำกล่าวว่า ปัญญาสามารถเที่ยงธรรมและไม่เห็นแก่ตัวได้ฉันใด หัวใจของคนเรานั้นก็สามารถสงบและซื่อตรงได้ฉันนั้น การให้รางวัลไม่สมกับการกระทำคุณงามความดีฉันใด ก็ไม่ต่างอะไรอันซึ่งไร้น้ำใจไมตรีจิต ในการประชุมที่สำนักงานใหญ่หอการค้าไทยพวกเราได้เรียกร้องให้วงการธุรกิจไทยระมัดระวังในการจงใจสร้างกระแสของปัญหาธุรกิจจีนสีเทาที่อาจจะส่งผลต่อสภาพการลงทุนในประเทศไทย ซึ่งหอการค้าไทยและกระทรวงพาณิชย์แห่งประเทศไทยควรให้ความสำคัญกับเรื่องนี้

ในการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศประจำปี 2566 ประเทศไทยขยับขึ้น 3 อันดับมาอยู่ที่ 30 จากการจัดอันดับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติจาก 166 ประเทศ ประเทศไทยขยับขึ้นมาอยู่อันดับที่ 43 จากอันดับที่ 44 ในปีที่แล้ว โดยอยู่ในอันดับที่ 1 ของอาเซียนติดต่อกันเป็นเวลา 5 ปี ในการจัดอันดับดัชนีเสรีภาพและความเจริญรุ่งเรืองในปี พ.ศ. 2566 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 55 จาก 166 ประเทศทั่วโลก ด้วยคะแนนตัวชี้วัดด้านสุขภาพ 90.9 ซึ่งแสดงถึงการยอมรับในระดับสากลเกี่ยวกับขีดความสามารถของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยได้กำหนดกลุ่มอุตสาหกรรมแห่งอนาคต 3 กลุ่ม ได้แก่ ธุรกิจ S-Curve BCG และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change ) และจัดตั้งหน่วยงานเศรษฐกิจและการลงทุนไทย-จีนเพื่อเป็นช่องทางให้ไทยและจีนร่วมมือกันพัฒนาในสาขาอุตสาหกรรมเกิดใหม่นี้ ซึ่งสิ่งนี้สอดคล้องกับนโยบายของจีน และยังเป็นการแสดงถึงการปกป้องสิ่งแวดล้อม การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และเทคโนโลยีขั้นสูงอีกด้วย ตามสถิติของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(BOI) อัตราความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจของบริษัทจีนในประเทศไทยมีถึง 99% มีบริษัทจีนมากมายมาสร้างฐานการผลิตในประเทศไทย และไม่เพียงแค่ขายสินค้าในประเทศไทย แต่ยังจะเป็นแหล่งกระจายสินค้าไปยังทั่วโลกอีกด้วย ในปัจจุบันนี้ ประเทศไทยได้มีการลงนามความตกลงการค้าเสรี (FTA) แล้ว 14 ฉบับ ครอบคลุม 18 ประเทศ ซึ่งขณะนี้ไทยกำลังเจรจากับนานาประเทศ และในอีก 2-3 ปีข้างหน้า จำนวนข้อตกลงการค้าเสรีจะเพิ่มเป็น 20 ฉบับ ครอบคลุม 53 ประเทศ ซึ่งจะเป็นหัวใจสำคัญของการที่ประเทศไทยจะกลายเป็นฐานการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกไปทั่วโลก จีนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทยติดต่อกันเป็นปีที่ 11 ตั้งแต่ปี 2556 ไทยส่งออกไปจีนแล้วถึง 1.19 ล้านล้านบาท (2.42 แสนล้านหยวน) โดยส่วนใหญ่เป็นผลไม้ ยางพารา และผลิตภัณฑ์พลาสติก ไทยนำเข้าเครื่องใช้ไฟฟ้า เคมีภัณฑ์ และรถจักรยานยนต์จากจีนมูลค่า 2.49 ล้านล้านบาท (5.07 แสนล้านหยวน) แม้ว่าไทยจะขาดดุลการค้ากับจีนประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท แต่สินค้าเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นสินค้าครบวงจรในห่วงโซ่อุตสาหกรรม ได้แก่ เครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องจักร และเทคโนโลยี เป็นต้น ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศของไทย จีนเป็นหุ้นส่วนที่สำคัญที่สุดของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ของประเทศไทย ด้วยเงินลงทุนสูงถึง 77,000 ล้านบาท ตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2565 จีนรั้งอันดับสองในด้านการลงทุนในภูมิภาคระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ของไทย ประเทศไทยพร้อมที่จะเป็นภูมิภาคที่มีศักยภาพในการดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากจีน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมไฮเทค จากการอัปเดตล่าสุดเกี่ยวกับปัจจัยสองประการที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุดซึ่งแสดงให้เห็นว่าเศรษฐกิจไทยเผชิญกับความท้าทายที่รุนแรงในระยะสั้น: 1. การส่งออก: การส่งออกลดลง 4.2% ในเดือนมีนาคม 7.6% ในเดือนเมษายน และ 4.6% ในเดือนพฤษภาคม ลดลง 8 เดือนติดต่อกัน ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2566 ลดลง 5.1% และการส่งออกทั้งปีอาจ ลดลง 1.2%

2. การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ: รัฐบาลไทยคาดการณ์เมื่อต้นปีว่าการท่องเที่ยวจะกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนของเศรษฐกิจ จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติจะสูงถึง 30 ล้านคนตลอดทั้งปี และรายได้จากการท่องเที่ยวจะสูงถึง 2.38 ล้านล้าน คิดเป็น 80% ของก่อนการระบาดโควิด เริ่มไตรมาส 2 ตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มเป็น 35 ล้านคน หวังรายได้แตะ 3 ล้านล้านบาท กลับมาอยู่ในระดับปี 2562 จากการติดตามโดยบริษัท เอไอ ธิงค์แท้งค์ในเดือนพฤษภาคม พบว่า มีนักท่องเที่ยวต่างชาติ 9.78 ล้านคน โดยเป็นนักท่องเที่ยวชาวจีน 1.03 ล้านคน ซึ่งต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้มาก สาเหตุหลัก คือ นักท่องเที่ยวจีนขอวีซ่ายากมาก ดังนั้น เพื่อการแก้ปัญหาความยากลำบากในช่วงระยะเวลานี้ บริษัท เอไอ ธิงค์แท้งค์แนะนำว่า:

- ฟรีวีซ่าเที่ยวเดียวสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน มีคำกล่าวว่า คนฉลาดจะรักษาเวลาได้ดี ส่วนคนไม่คู่ควรก็รักษาไว้ได้แค่ชีวิต เหตุผลที่เจ้าหน้าที่ไทยบางคนไม่เห็นด้วยกับนโยบายนี้ก็คือ การยกเว้นวีซ่าต้องการให้ทั้งสองแนวทางเป็นไปอย่างยุติธรรม ในเชิงปฏิบัติ ผลกระทบของตลาดการท่องเที่ยวระหว่างประเทศต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยนั้นยิ่งใหญ่กว่าผลกระทบของจีน ในทางกลับกัน ประเทศไทยยกเว้นนักท่องเที่ยวจากยุโรป อเมริกา และญี่ปุ่นมาช้านาน และมีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศไทยด้วย ในกรณีที่สามเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจชะงักไปหมด การท่องเที่ยวจึงกลายเป็นกลไกสำคัญ ในปี 2562 นักท่องเที่ยวจีนคิดเป็น 25% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาประเทศไทยเป็นอันดับ 1 การบริโภคต่อหัวของนักท่องเที่ยวจีนอยู่ที่ 50,000 บาท ซึ่งเป็นประเทศต้นๆที่มีการใช้การจ่ายมากที่สุด จากการสำรวจล่าสุดแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยยังคงเป็นตัวเลือกแรกสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีนในการท่องเที่ยวต่างประเทศ ขณะเดียวกันการยกเว้นวีซ่าสำหรับนักท่องเที่ยวจีนยังเอื้อให้ผู้ประกอบการจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยอีกด้วย

- ให้ความสนใจกับตลาดการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของจีน และคว้าโอกาสในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้เหมาะสม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยไม่ต้อนรับการท่องเที่ยวระดับล่างแบบทัวร์ศูนย์เหรียญ ในเวลาเดียวกัน การเชื่อมโยงจำนวนมากในห่วงโซ่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวระหว่างประเทศได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะฟื้นตัวในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ และเป็นการยากที่จะรับนักท่องเที่ยวต่างชาติจำนวนมากได้ทันท่วงที อย่างไรก็ตาม ระบบการแพทย์ของไทยไม่เพียงแต่ไม่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดเท่านั้น แต่ความสามารถในการให้บริการผู้ป่วยจำนวนมากกลับดีขึ้นแทน


การเชื่อมความสัมพันธ์ของอุตสาหกรรมการแพทย์ไทยและจีนระหว่างการประชุมนักธุรกิจจีนให้แน่นแฟ้น

ช่วงระยะเวลาการประชุมนักธุรกิจจีนโลก ทีมงานบริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์ได้มีการพูดคุยแลกเปลี่ยนอย่างกว้างขว้างกับทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงแนวทางร่วมมือกันในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์

วันที่ 24 มิถุนายน 2566 กิจกรรมกลุ่มที่ปรึกษาสมาคมนวัตกรรมเทคนิคการแพทย์แห่งประเทศไทย


เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน รัฐบาลเขตกู่โหลว ของเมืองหนานจิงได้เยี่ยมชมโครงการศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ไทย-จีนของมหาวิทยาลัยสยามและลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ที่พัฒนาเป็นเวทีสำคัญสำหรับบริษัททางการแพทย์ระหว่างจีนและไทย เพื่อช่วยกระชับความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือ พร้อมเพิ่มความสามัคคีและอิทธิพลระหว่างประเทศของห่วงโซ่อุตสาหกรรมการแพทย์ อุตสาหกรรมชีวการแพทย์และอุปกรณ์การแพทย์รูปแบบใหม่ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมชั้นนำในเมืองหนานจิง โดยได้รวบรวม กลุ่มบริษัทชั้นนำด้านชีวการแพทย์และโครงการที่มีการเติบโตสูง รวบรวมกลุ่ม R&D (Research and develop) ที่มีความสามารถพิเศษ และก่อตั้งห่วงโซ่อุตสาหกรรมที่มีความครอบคลุม ปัจจุบัน มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในมณฑลเจียงซูเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2560 ถึงปี 2564 โดยมีมูลค่ามากกว่า 1 แสนล้านหยวนในปี 2564 แตะ 121.066 พันล้านหยวน เพิ่มขึ้น 15.96% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในปี 2563 และ 2564 จำนวนผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์ในมณฑลเจียงซูเพิ่มขึ้นเป็นเวลาสองปีติดต่อกัน โดยแตะที่ 4,133 รายในปี 2564 เพิ่มขึ้น 574 รายจากปี 2563 มีบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ได้แก่ Yuyue Medical, Nanwei Medical, Shuoshi Biotech, Tesson Medical, Weiss Medical เป็นต้น มีบริษัทจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ 54,000 รายที่จำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ Class II และ Class III จากปี 2562 ถึง 2564 จำนวนบริษัทที่จำหน่ายอุปกรณ์การแพทย์ Class II และ Class III ในมณฑลเจียงซูจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2563 จะมีบริษัทมากกว่า 40,000 ราย จนถึงสิ้นปี 2564 จำนวนจะเพิ่มขึ้นเป็น 54,000 ราย ในปี 2564 มณฑลเจียงซูจะมีบริษัทจำนวนมากที่สุดที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางการแพทย์ Class II โดยมีจำนวนถึง 36,600 ราย คิดเป็นมากกว่า 67%


เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน คุณจือ กวนหนาน นายกเทศมนตรีเมืองเจียหยาง มณฑลกวางตุ้ง คุณเจียง อวี้เฉิง รองเลขาธิการมณฑลกวางตุ้ง และคุณหลิน จวิ้นหราน ประธานสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน เข้าร่วมการประชุมนักธุรกิจจีนโลก สมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีนเสนอให้ใช้วิสาหกิจชั้นนำเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือระหว่างประเทศในห่วงโซ่อุตสาหกรรม และเพื่อให้ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่จากความได้เปรียบทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ความได้เปรียบด้านศูนย์กลางการขนส่ง และความได้เปรียบด้านการหมุนเวียนทางการค้าของทั้งสองประเทศ ยาชีวเวชศาสตร์และอุตสาหกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ของเมืองเจียหยาง ใช้ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ในอุตสาหกรรม ขัดเกลา "สองห่วงโซ่" + "สองแผนที่" + "สองฐานข้อมูล" + "สองรายการ" เพื่อดึงดูดการลงทุนอย่างถูกต้องแม่นยำ


เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน คณะผู้แทนจากสหพันธ์นักธุรกิจชาวจีนโพ้นทะเลปักกิ่งได้เยี่ยมชมสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีนบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนทางเศรษฐกิจและการค้าและความร่วมมือทางอุตสาหกรรม พร้อมลงนามในบันทึกความร่วมมือเพื่อใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบด้านการแพทย์ การท่องเที่ยว วัฒนธรรม และเศรษฐกิจหมุนเวียนของทั้งสองพื้นที่ ในปี 2565 ขนาดของอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ของปักกิ่งจะสูงถึง 67,287 พันล้านหยวน ซึ่งอยู่ในอันดับที่ 6 ของประเทศ คิดเป็น 5.18% ของขนาดอุตสาหกรรมทั้งหมดของประเทศ และอัตราการเติบโตแบบทบต้นตั้งแต่ปี 2561 ถึง 2565 จะอยู่ที่ 16.72% จำนวนบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์คือ 1,096 ราย โดย 586 รายสามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Class I ได้ 644 รายสามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Class II ได้ และ 313 รายสามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Class III ได้ ในปี 2565 มูลค่าการส่งออกของปักกิ่งจะอยู่ที่ 17.181 พันล้านหยวน และการส่งออกที่ใหญ่ที่สุดคืออุปกรณ์การแพทย์ โดยมีมูลค่าการส่งออก 7.883 พันล้านหยวน คิดเป็น 45.88% ตามมาด้วยน้ำยาในกลุ่ม IVD ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก 5.526 พันล้านหยวน คิดเป็น 32.17%


เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน ประธาน หวัง หลี่จง จาก Guangdong High-tech Industry Chamber และ Dr. หลี่ ซูเฟย คณะกรรมการจัดงาน Greater Bay Area-ASEAN Economic Cooperation (Qianhai) Forum ได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมนักธุรกิจจีน และได้เรียนเชิญสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีนเข้าร่วมงาน Greater Bay Area-ASEAN Economic Cooperation (Qianhai) Forum เพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนทางการค้าให้แน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้น ส่งเสริมความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวระดับไฮเอนด์ เทคโนโลยีทางการแพทย์ รถยนต์พลังงานใหม่ Guangdong High-tech Industry Chamber ก่อตั้งขึ้นในปี 2542 เป็นองค์กรเพื่อสังคมระดับชาติ 5A และเป็นองค์กรการค้าแห่งแรกในด้านเทคโนโลยีขั้นสูงในประเทศจีน ปัจจุบัน มีบริษัทสมาชิกมากกว่า 6,000 แห่ง


เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน คณะผู้แทนจากสภาอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ซานโถว (Shantou Federation of Industry & Commerce) เข้าเยี่ยมชมสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน และลงนามข้อตกลงความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม คณะกรรมการเทศบาลซานโถวและองค์กรปกครองส่วนเทศบาลได้มุ่งเน้นไปที่การสร้างอุตสาหกรรมสุขภาพขนาดใหญ่โดยเป็นหนึ่งใน “สามอุตสาหกรรมใหม่ สองพิเศษและหนึ่งใหญ่” ก่อตั้งสมาคมอุตสาหกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ในเมืองซานโถว และคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์แต้จิ๋วโพ้นทะเล มีการกำหนดและออกประกาศใช้แนวทางของอุตสาหกรรมด้านสุขภาพขนาดใหญ่แห่งแรกของเมือง ——"แผนพัฒนาอุตสาหกรรมด้านสุขภาพขนาดใหญ่ของเมืองซานโถว (2023-2035)" ซึ่งช่วยให้ซานโถวเร่งการก่อตัวของระบบอุตสาหกรรมด้านสุขภาพขนาดใหญ่ที่มีโครงสร้างที่ดีและสามารถแข่งขันได้ เพื่อส่งเสริมการพัฒนานวัตกรรมของอุตสาหกรรมสุขภาพขนาดใหญ่และอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ คณะกรรมการเทศบาลซานโถวและองค์กรปกครองส่วนเทศบาลวางแผนที่จะร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอัลตราซาวนด์ในเมืองซานโถว เพื่อร่วมกันสร้างสถาบันวิจัยอุปกรณ์การแพทย์ในอุตสาหกรรมสุขภาพขนาดใหญ่ ณ เมืองซานโถว ในช่วงสามปีที่ผ่านมามีการเพิ่มเตียงใหม่มากกว่า 5,000 เตียง และมีการแนะนำพร้อมฝึกอบรมบุคลากรทางการแพทย์ระดับสูงอย่างแข็งขัน เพื่อการก่อสร้างศูนย์การแพทย์ระดับภูมิภาคที่มีความก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว


เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน คณะผู้แทนจาก Overseas Chinese Affairs Office of Shandong เยี่ยมชมสมาคมนักธุรกิจไทย-จีน มณฑลชานตงยังเป็นมณฑลหลักด้านอุปกรณ์การแพทย์ โดยมีบริษัทเวยเกา (WEGO) และบริษัทชั้นนำอื่นๆ ในห่วงโซ่อุตสาหกรรม ในปี 2561 รายได้จากการขายอุปกรณ์ทางการแพทย์แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน win-win ของมณฑลอยู่ที่ประมาณ 7.5 หมื่นล้านหยวน และมีผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ 1,139 ราย ซึ่งรวมถึงบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ Class I 477 ราย บริษัทอุปกรณ์การแพทย์ Class II 537 ราย และบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ Class III 125 ราย ผลิตภัณฑ์มีมากกว่า 300 ชนิดในกว่า 40 หมวดหมู่ มีบริษัทประกอบกิจการเครื่องมือแพทย์ 41,445 ราย


เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน คุณ หลู กั๋วอี้ รองประธานและเลขาธิการคณะกรรมการพรรคจือกง นำคณะเยี่ยมชมสมาคมนักธุรกิจไทย-จีน ทั้งสองฝ่ายจะใช้จุดเด่นของ "ชาวจีนโพ้นทะเล" และข้อได้เปรียบของผู้มีความสามารถระดับสูง เช่น ผู้เชี่ยวชาญและนักวิชาการ เพื่อส่งเสริมการบูรณาการของอุตสาหกรรมระดับสูงระหว่างไทยและจีน




เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน การประชุมแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจและการค้าจีน (กวางตุ้ง)-ไทย จัดขึ้นที่กรุงเทพมหานคร ได้มีการถ่ายภาพกับผู้ว่าการ หวัง เหว่ยจง และแขกผู้มีเกียรติร่วมกัน พื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียงของมณฑลกวางตุ้งเป็นหนึ่งในสามพื้นที่กระจุกตัวที่สำคัญของอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ของจีน ในปี 2561 มูลค่าการส่งออกของอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์เกิน 150 พันล้านหยวน และการส่งออกอยู่ในอันดับแรกของประเทศ มีบริษัทประกอบกิจการเครื่องมือแพทย์ 69,856 ราย ซึ่งบริษัทส่วนใหญ่กระจายอยู่ในเมืองใหญ่ๆ เช่น กว่างโจวและเซินเจิ้น ในปี 2561 บริษัทอุปกรณ์การแพทย์ในมณฑลกวางตุ้งทั้งหมด 16 รายได้เจรจาเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์หุ้น A ซึ่งคิดเป็น 30.77% ของทั้งประเทศ ในขณะที่อุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ของเซินเจิ้นกำลังก้าวไปสู่ระดับไฮเอนด์ มูลค่าการผลิตทางอุตสาหกรรมรวมกันเกิน 80 พันล้านหยวน ปัจจุบันมีบริษัทอุปกรณ์ทางการแพทย์มากกว่า 1,300 รายในเซินเจิ้นและมูลค่าการผลิตทางอุตสาหกรรมรวมกันเกินกว่า 80 พันล้านหยวน อัตราการเติบโตแบบทบต้นตั้งแต่ปี 2010 ถึงปี 2019 คือ 12.7% ซึ่งมากกว่าสองเท่าของทั้งประเทศ เซินเจิ้นเป็นผู้นำอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศ ในแง่ของมูลค่าการผลิต มูลค่าการส่งออกอุปกรณ์การแพทย์ของเซินเจิ้นคิดเป็นประมาณ 8%-10% ของมูลค่าทั้งหมดของประเทศ และการส่งออกมีสัดส่วนมากกว่า 13% ซึ่งอยู่ในอันดับแรกของเมืองใหญ่ทั่วทั้งประเทศ


สถาบันวิจัยการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่เขตพื้นที่กว่างโจว (Guangzhou Greater Bay Area Modern Industry Development Research Institute) ซึ่งประกอบด้วยสมาคมวิจัยอุตสาหกรรมความงามทางการแพทย์และสุขภาพ สมาคมวิจัยอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ดิจิทัล สมาคมวิจัยอุตสาหกรรมบริการสมัยใหม่ และสมาคมวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้การสนับสนุนการศึกษาจีน-ไทย และให้ความสนใจเป็นพิเศษกับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ระดับไฮเอนด์


เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2566 ผู้นำสมาคมนักธุรกิจไทย-จีนได้รับเชิญให้เข้าร่วมการประชุมเขตพื้นที่อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าประจำปี 2566 โดยมีหัวข้อหลักคือ “รวบรวมความแข็งแกร่งของชาวจีนโพ้นทะเลเพื่อสานฝันเขตพื้นที่เศรษฐกิจ GBA” มีผู้สนับสนุนหลักจาก Overseas Chinese Affairs of the State Council และ People’s Government of Guangdong Province ดำเนินการโดย Overseas Chinese Affairs Office of the People’s Government of Guangdong Province และ Jiangmen Municipal People’s government เมืองเจียงเหมินจะเป็นสถานที่หลักในการจัดประชุมหัวข้อต่างๆ การประชุมส่งเสริมเขตพื้นที่อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า การกล่าวสุนทรพจน์จากชาวจีนและชาวจีนโพ้นทะเล การประชุมคู่ขนาน กิจกรรมเทศกาลในจีน (เจียงเหมิน) บ้านเกิดของชาวจีนโพ้นทะเล และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมเยี่ยมชม ฯลฯ เพื่อแสดงให้โลกเห็นถึงโอกาส ศักยภาพ และเสน่ห์ของเขตอ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊าอย่างรอบด้าน หลากหลาย และกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ซึ่งจะรวบรวมชาวจีนโพ้นทะเลให้มีส่วนร่วมและแบ่งปันโอกาสการพัฒนาของประเทศจีนและเขตพื้นที่อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า พร้อมยังส่งเสริมการก่อสร้างเขตพื้นที่อ่าวกวางตุ้ง-ฮ่องกง-มาเก๊า เพื่อแบ่งปันความฝันของประเทศจีนร่วมกัน ซึ่งในช่วงเวลานั้น ได้มีการเข้าเยี่ยมชมสินค้าอุปกรณ์ทางการแพทย์ระดับไฮเอนด์อีกด้วย




นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ร่วมการประชุมนักธุรกิจจีน ผู้ว่าฯให้ความสำคัญด้านความร่วมมือกับบริษัททางการแพทย์ของประเทศจีน ก่อนอื่น ผู้ว่าฯขอบคุณบริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์เป็นอย่างมากที่บริจาคอุปกรณ์ป้องกันการแพร่ระบาดให้กับหน่วยงานราชการกรุงเทพฯ ในช่วงที่เกิดโรคระบาดรุนแรงเมื่อปีที่แล้ว มีสุภาษิตกล่าว ให้ความช่วยเหลือในยามคับขันได้อย่างทันท่วงที อย่างนั้นแล้วถึงจะเป็นเพื่อนแท้ ผู้ว่าฯกล่าวว่าการบริการทางการแพทย์เป็นอุตสาหกรรมที่ได้เปรียบในกรุงเทพฯซึ่งได้รวบรวมโรงพยาบาลที่ดีที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียไว้ด้วยกัน โดยหน่วยงานราชกรุงเทพฯบริหารโรงพยาบาล 7 แห่งโดยตรง และรอคอยที่จะร่วมมือเชิงลึกกับบริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์และ ศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยสยาม


เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ประธาน หลี ฉู่หยวน ของบริษัท Guangzhou Pharmaceutical Holdings Limited (GPHL) ได้เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจและการค้าจีน (กวางตุ้ง)-ไทย และลงนามในสัญญาในการประชุมดังกล่าว บริษัท GPHL ได้กลายเป็นหนึ่งในบริษัทยาที่ทรงอิทธิพลที่สุดในประเทศจีน ด้วยรูปแบบเชิงลึกของห่วงโซ่อุตสาหกรรมยา ธุรกิจหลักของบริษัท GPHL ครอบคลุมเภสัชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ สุขภาพทั่วไป และบริการทางการแพทย์ สายผลิตภัณฑ์ยาของบริษัทครอบคลุมการย่อยอาหาร หัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินหายใจ ระบบประสาท การป้องกันการติดเชื้อ และแขนงอื่น ๆ บริษัทมีบริษัทในเครือมากกว่า 150 แห่งและแบรนด์มากกว่า 200 แบรนด์ นอกจากนี้บริษัท GPHL ยังได้ลงทุนในบริษัทผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์และบริษัทด้านสุขภาพขนาดใหญ่หลายแห่ง และได้เตรียมการในด้านผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพและบริการทางการแพทย์อีกด้วย


คณะผู้แทนเขตพัฒนากว่างโจวได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมกับสมาคมนักธุรกิจไทย-จีน เขตพัฒนากว่างโจวได้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมเฉพาะทางพิเศษแห่งใหม่ สถาบันวิจัย Guangdong Institute of Advance Biomaterials and Medical Devices นำโดยนักวิชาการ หวัง อิ๋งจวิน จาก Chinese Academy of Engineering อาศัยทีมนักวิชาการหลายคนจาก National Engineering Research Center for Tissue Restoration and Reconstruction ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเซาท์ไชน่าพัฒนาอุปกรณ์การแพทย์ระดับไฮเอนด์อย่างครอบคลุม บริการบ่มเพาะธุรกิจการขยายกิจการอุปกรณ์การแพทย์ การเปลี่ยนแปลงการบริการ และการเปลี่ยนแปลงผลลัพธ์และการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยตรง ส่งเสริมการพัฒนากลุ่มบริษัทอุปกรณ์การแพทย์ระดับไฮเอนด์ที่เป็นนวัตกรรมในเขตพัฒนากว่างโจว และสร้างกลุ่มอุตสาหกรรมระดับไฮเอนด์


เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน นายอวี๋ จินฝู จากเมืองหยางเจียง มณฑลกวางตุ้ง นำคณะผู้ประกอบการเยี่ยมชมสมาคมการค้าไทยจีนกวางตุ้ง เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านอุตสาหกรรม เช่น การท่องเที่ยวทางการแพทย์ระดับไฮเอนด์ บริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์เสนอว่าในขณะที่เพิ่มการลงทุนในทรัพยากรทางการแพทย์ เมืองหยางเจียงควรเพิ่มประสิทธิภาพการจัดสรรทรัพยากรทางการแพทย์และสุขภาพ บูรณาการทรัพยากรทางการแพทย์ของไทย ส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ระดับไฮเอนด์ระหว่างประเทศ และดำเนินการเพิ่มศักยภาพการบริการทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง


สภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์จีน

อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ของจีนเติบโตอย่างต่อเนื่อง ในปี 2561 มีผู้ผลิตอุปกรณ์ทางการแพทย์ 17,326 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 1,112 ราย และจำนวนบริษัทที่สามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Class I ได้คือ 7,513 ราย จำนวนบริษัทที่สามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Class II ได้คือ 9,189 ราย และจำนวนบริษัทที่สามารถผลิตอุปกรณ์การแพทย์ Class III ได้คือ 1,997 ราย ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2560 ถึงพฤศจิกายน 2561 มีการเพิ่มใบอนุญาตประกอบกิจการบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ใหม่ 760 รายทั่วประเทศ ใบอนุญาตประกอบกิจการบริษัทผลิตอุปกรณ์การแพทย์ 3,719 รายถูกเปลี่ยน และต่ออายุ 844 ราย ผู้ผลิตอุปกรณ์การแพทย์มากกว่า 90% เป็นวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม โดยมีรายได้จากธุรกิจหลักเฉลี่ยปีละ 30-40 ล้านหยวน ซึ่งตามหลังบริษัทยาในประเทศที่มีรายได้ 300-400 ล้านหยวนอยู่มาก

ตลาดอุปกรณ์การแพทย์ของจีนกลายเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก และวัสดุสิ้นเปลืองระดับไฮเอนด์ก็กลายเป็น "ช่องทางการเติบโตที่ดี" ปกติแล้ว โรงพยาบาลระดับตติยภูมิมีแผนกมากกว่า 200 แผนก ต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์ 8,000 รายการ มากกว่า 330 หมวดหมู่ และ 400 แบรนด์ ตลาดอุปกรณ์การแพทย์ของจีนมีมูลค่าเกิน 530 พันล้านหยวน และมีสัดส่วนของวัสดุสิ้นเปลืองที่มีมูลค่าสูงเป็นอันดับสอง คิดเป็นประมาณ 20% ของส่วนแบ่งการตลาดและมีขนาดประมาณ 106 พันล้าน ตลาดมีขนาดใหญ่เพียงพอซึ่งตรงตามใจความสำคัญของ "ช่องทางการเติบโตที่ดี" ของนักลงทุน ในการจัดการอุปกรณ์การแพทย์ขนาดใหญ่และวัสดุสิ้นเปลืองที่มีมูลค่าสูงทางการแพทย์ การจัดซื้อจากส่วนกลางที่มีปริมาณมากจะทำให้การควบรวมกิจการ พันธมิตร และการปรับโครงสร้างองค์กรการผลิตและการดำเนินงานอุปกรณ์การแพทย์ของจีนมีร่วมกันมากขึ้นและเห็นได้บ่อยขึ้น และขนาดของบริษัทโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทขนาดใหญ่ จะเร่งขยายตัวเร็วขึ้น ผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการสร้างภาพทางการแพทย์ ผลิตภัณฑ์ตรวจวินิจฉัยในหลอดทดลอง อุปกรณ์ฝังในร่างกาย และอุปกรณ์การแพทย์ในครัวเรือนจะพัฒนาในอัตราที่เร็วขึ้นในอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุปกรณ์การแพทย์อัจฉริยะ AI จะเร่งการเติบโตอย่างรวดเร็ว ด้วยความที่ผู้มีความสามารถระดับสูงจำนวนมากที่เคยศึกษาในต่างประเทศได้กลับมายังประเทศจีนทีละคน และการปรับปรุงนวัตกรรม พร้อมความสามารถในการวิจัยและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สิบปีข้างหน้าจะยังคงเป็น "ช่วงเวลาทอง" สำหรับการพัฒนาของอุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ของจีนอย่างรวดเร็ว และจะกลายเป็นตลาดอุปกรณ์การแพทย์ที่ใหญ่ที่สุดในโลกในไม่ช้า

โดยรวมแล้ว โครงสร้างการค้าต่างประเทศของอุปกรณ์การแพทย์ของจีนได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง คุณภาพและประสิทธิภาพเองก็ได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และรวบรวมพลังงานขับเคลื่อนใหม่ๆสำหรับการพัฒนา ประมาณปี 2019 การส่งออกอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีนยังคงถูกครอบคลุมไปด้วยผลิตภัณฑ์ระดับล่างและระดับกลาง แต่โครงสร้างมีแนวโน้มที่จะได้รับการปรับให้เหมาะสม สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มสูงยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และประสิทธิภาพด้านต้นทุนของวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ก็เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่เป็นเครื่องนวดเพื่อสุขภาพและผ้าปิดแผลทางการแพทย์ สินค้าส่งออก 10 อันดับแรกของจีนคิดเป็น 45.6% ของการส่งออกอุปกรณ์การแพทย์ทั้งหมดของจีน

ตั้งแต่ปี 2018 การสร้างระเบียบแบบแผนกำกับดูแลอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีนสำหรับการส่งออกอุปกรณ์การแพทย์ของจีนในด้านมาตรฐานและข้อบังคับได้มีกำหนดระบบพื้นฐานที่เป็นมาตรฐานสากล ระบบมาตรฐานของอุปกรณ์ทางการแพทย์ในจีนได้รับการปรับปรุงให้ดียิ่งขึ้น และสอดคล้องกับระดับมาตรฐานสากลเกิน 90% พร้อมแนวคิดด้านกฎระเบียบก็สอดคล้องกับมาตรฐานสากลมากขึ้น 1. ประกาศ "ระเบียบการกำกับดูแลและการบริหารเครื่องมือแพทย์" (ฉบับแก้ไข) กำหนดและเผยแพร่ "มาตรการบริหารสำหรับการติดตามและการประเมินซ้ำสำหรับเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากเครื่องมือแพทย์" "แนวทางการจัดการตัวแทนฝ่ายบริหารของสถานประกอบการผลิตเครื่องมือแพทย์" และปรับปรุง "ขั้นตอนการตรวจสอบพิเศษสำหรับนวัตกรรมเครื่องมือแพทย์" 2. ระบบมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ค่อยๆ ดีขึ้น ภายในสิ้นปี 2561 มีมาตรฐานเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพ 1,618 รายการในจีน และจำนวนดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 3. รายการการจำแนกประเภทอุปกรณ์การแพทย์เวอร์ชันใหม่ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ และได้มีการกำหนด "ระเบียบการจัดการสมาชิกคณะกรรมการด้านเทคนิคการจำแนกประเภทอุปกรณ์การแพทย์" 4. งานเขียนโค้ดอุปกรณ์การแพทย์ได้รับการผลักดันอย่างเร่งด่วน และกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องสามมาตรฐานบนพื้นฐานของมาตรฐานอุตสาหกรรม "ข้อกำหนดพื้นฐานสำหรับการระบุอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่มีเพียงหนึ่งเดียว" 5. ในปี 2561 จีนเป็นประธานของ International Medical Device Regulators Forum (IMDRF) และประสบความสำเร็จในการประชุมคณะกรรมการบริหารสองครั้งเพื่อส่งเสริมรายการงานใหม่ของ "การประเมินทางคลินิกของอุปกรณ์ทางการแพทย์" และ "รายการมาตรฐานสากลที่ได้รับการยอมรับจาก สมาชิก IMDRF" นำโดยจีน มีการเข้าร่วมการประชุมประจำปี Asian Harmonization Working Party (AHWP) อย่างแข็งขัน และแสดงบทบาทสำคัญของจีนใน Asian Harmonization Working Party



ร่วมพูดคุยกับทีมงานบริษัท Bangkok genomics innovation ประจำประเทศไทย



เยี่ยมเยียน Qixia District People's Government of Nanjing เพื่อเชื่อมความสัมพันธ์ด้านอุตสาหกรรมการแพทย์ให้แน่นแฟ้น เขตพื้นที่ชีสยามุ่งเน้นไปที่การบูรณาการเชิงลึกของหกสาขาหลัก ได้แก่ "เวชศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ วิศวกรรมทางการแพทย์ (อุปกรณ์ทางการแพทย์) ข้อมูลทางการแพทย์ (ฐานข้อมูลทางการแพทย์) การดูแลทางการแพทย์ (การฟื้นฟูสมรรถภาพและการดูแลผู้สูงอายุ) และกีฬาทางการแพทย์ (วิทยาศาตร์การกีฬา)" เพื่อส่งเสริมการแพทย์รูปแบบใหม่และอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ เร่งการพัฒนาในเขตพื้นที่ชีสยา และสร้างรูปแบบการพัฒนาโดยมี China Nanjing Biotech and Pharmaceutical Valley และ Jiangsu Life Science and Technology Innovation Park เป็นฐานกำลังหลักในการเชื่อมโยงระดับภูมิภาค การประสานงานของแผนก และทำให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมในเขตพื้นที่ชีสยาแห่งนี้ ในปี 2020 รายได้รวมจากธุรกิจหลักของอุตสาหกรรมยาใหม่และการดูแลสุขภาพในเขตพื้นที่ชีสยา จะอยู่ที่ 2.6 หมื่นล้านหยวน และจะเกิน 3.3 หมื่นล้านหยวนในปี 2021


Shanghai Real Star Rehabilitation Equipment Co., Ltd. เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา ซึ่งก่อตั้งร่วมกันโดยนักลงทุนที่มีชื่อเสียงในอุตสาหกรรมการแพทย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ และผู้บริหารระดับสูง บริษัทมุ่งมั่นที่จะแนะนำอุปกรณ์และเทคโนโลยีการรักษาฟื้นฟูชั้นนำในระดับสากลที่ถูกนำมาใช้อย่างกว้างขวางและประสบความสำเร็จในการปฏิบัติทางคลินิก ทำการปรับปรุงเฉพาะที่ และให้บริการการฟื้นฟูสมรรถภาพอัจฉริยะที่สะดวกและใหม่สำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาล/แผนกฟื้นฟูที่สำคัญ ศูนย์ฟื้นฟูชุมชน และการรักษาที่บ้าน


ประธานถัง บริษัท Nanjing Kuancheng Technology Co., Ltd. ให้การต้อนรับเป็นการส่วนตัว บริษัทก่อตั้งขึ้นในเดือนตุลาคม 2549 เป็นองค์กรที่มีความครอบคลุมซึ่งความเชี่ยวชาญในการวิจัยและพัฒนา การผลิต การขาย และบริการอุปกรณ์ทางการแพทย์ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์หลายรายการในด้านระบบทางเดินหายใจและระบบย่อยอาหารเช่น เครื่องมือวัดการเคลื่อนไหวของระบบทางเดินอาหาร(Biofeedback Gastrointestinal Motility Instrument) และ เครื่องบำบัดด้วยเกลือ (Salt-sol Therapeutic Instrument) เป็นต้น


ประธานอวี๋ บริษัท Nanjing Kejin Industrial Co.,Ltd. กล่าวแนะนำบริษัทด้วยตนเอง: Nanjing Kejin มีประสบการณ์มากกว่า 20 ปีในการวิจัยและพัฒนาและผลิตอุปกรณ์การแพทย์ ในปี 2559 ผลิตภัณฑ์ใหม่นี้ได้รับรางวัล "ใบรับรองสินค้าใหม่ด้านชีวการแพทย์แห่งเมืองหนานจิง Nanjing Biomedical New Product Certificate" ในปี 2018ได้รับเลือกเป็น "รายการแนะนำการส่งเสริมผลิตภัณฑ์นวัตกรรมและการสาธิตชุดแรกของเมืองหนานจิง" บริษัทใช้มาตรฐานระบบการจัดการคุณภาพ ISO9001+ISO13485 และข้อกำหนดการจัดการคุณภาพการผลิตอุปกรณ์การแพทย์ พร้อมการวิจัย การพัฒนาและการผลิตเครื่องวิเคราะห์การไหลเวียนของเลือด Transcranial Doppler ultrasound, เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยอัลตราซาวนด์ (กระดูกส้นเท้า calcaneus), เครื่องวัดความหนาแน่นของกระดูกด้วยอัลตราซาวนด์ (กระดูกปลายแขนด้านนิ้วหัวแม่มือ radius /กระดูกหน้าแข้ง tibia) และผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์อีก 3 หมวดหมู่หลักที่มีข้อมูลเฉพาะและรุ่นมากกว่า 30 รายการ


องค์กรเอกชนชั้นนำของจีนที่ได้รับการส่งเสริมโดยคุณเฉิน จางเหลียง อดีตรองอธิการบดีของมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้เยี่ยมชมสมาคมวิเทศพาณิชย์ไทย-จีน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในห่วงโซ่อุตสาหกรรม คุณหวัง ลี่ผิง อัครราชทูตที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจและพาณิชย์ ประจำสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทยร่วมชี้แนะแนวทาง

ความท้าทายที่บริษัทอุปกรณ์การแพทย์ของจีนเผชิญในระดับสากล บริษัทอุปกรณ์ทางการแพทย์ของจีนมักมีขนาดเล็ก การกระจุกตัวของอุตสาหกรรมต่ำและมีความสามารถในการป้องกันความเสี่ยงที่อ่อนแอ ซึ่งขาดรูปแบบโดยรวมของห่วงโซ่อุตสาหกรรม ตลอดจนกลยุทธ์และความสามารถในการรวบรวมทรัพยากรระดับโลกในการแข่งขันระดับนานาชาติ เพื่อให้บรรลุความเป็นสากลอย่างแท้จริง บริษัทอุปกรณ์การแพทย์ต้องมีการฝึกอบรมด้านเทคนิคและระบบบริการหลังการขายที่ครบถ้วน นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานสากล คุณภาพสม่ำเสมอและคงที่ เทคโนโลยีที่เป็นเลิศ และช่องทางการตลาดที่สมบูรณ์แบบ ปัญหาพื้นฐานของความร่วมมือทางการแพทย์ระหว่างจีน-ไทยในปัจจุบันคืออุตสาหกรรมอุปกรณ์การแพทย์ของจีนมีเวลาในการพัฒนาสั้น ขาดประสบการณ์ด้านการตลาดระหว่างประเทศ การรับรู้ถึงแบรนด์ต่ำ ความสามารถในการประชาสัมพันธ์ไม่แข็งแรงนัก และความสามารถในการรวบรวมทรัพยากรต่างๆของบริษัทถูกจำกัด และบริษัทส่วนใหญ่ทำงานอย่างโดดเดี่ยวในตลาดต่างประเทศ ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่จะสร้างช่องทางการตลาดที่ดีและเครือข่ายการบำรุงรักษาหลังการขายที่มีขนาดใหญ่ ดังนั้นความน่าเชื่อถือของผลิตภัณฑ์จึงได้รับผลกระทบอย่างมาก โดยส่วนใหญ่อยู่ในประเด็นต่อไปนี้:

- มาตรฐานด้านเทคนิคล้าหลังและขาดความสามารถในการแข่งขันหลัก

- การติดขัดด้านบริการหลังการขายในตลาดต่างประเทศ

- ขาดการรับรู้ถึงแบรนด์อย่างอิสระ

- การแข่งขันที่รุนแรงระหว่างบริษัทในพื้นที่

- การถูกจำกัดความเป็นสากลในด้านทรัพยากรมนุษย์

- อุปสรรคในการเข้าสู่ตลาด

- องค์กรไม่ให้ความสำคัญกับการรับผิดชอบต่อสังคมเพียงพอ

- แนวโน้มในการแสวงหาผลกำไรมากเกินไปในธุรกิจซึ่งจะนำไปสู่ปัญหาที่ไม่จำเป็น

- ความสามารถในการใช้กฎเกณฑ์ระหว่างประเทศยังไม่แข็งแกร่งเพียงพอ

- ความสามารถในการแข่งขันระหว่างประเทศไม่แข็งแรง

- ความสามารถในการรวบรวมทรัพยากรทั่วโลกไม่มากพอ

- บทบาทของการสนับสนุนทุนทางการเงินมีจำกัด

- ขาดนโยบายสนับสนุนระหว่างประเทศ

- จำเป็นต้องปรับปรุงความสามารถในการให้บริการสาธารณะของอุตสาหกรรม


สภาพโดยรวมของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ไทย ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกเครื่องมือแพทย์อันดับที่ 19 ของโลก (1.2%) และนำเข้าเครื่องมือแพทย์อันดับที่ 32 (0.5%) โดยปริมาณการนำเข้าของไทยคิดเป็น 1/13 ของจีน เครื่องมือแพทย์ที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่เป็นวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ (เช่น ถุงมือยาง ถุงมือยางทางการแพทย์ สายสวนและสายยางทางการแพทย์ กระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยา ผ้าพันแผลและอุปกรณ์ทำแผล) คิดเป็นร้อยละ 90.0 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด ตลาดส่งออกหลักของไทยคือสหรัฐอเมริกา รองลงมาคือ ญี่ปุ่น เนเธอร์แลนด์ และเยอรมนี ผู้ผลิตและผู้ส่งออกส่วนใหญ่ในประเทศไทยเป็นบริษัทของต่างชาติที่ใช้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกไปยังภูมิภาคอื่น ในส่วนของการนำเข้า ส่วนใหญ่เป็นเวชภัณฑ์คงทนและวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์ เช่น เครื่องอัลตราซาวด์ เครื่องเอกซเรย์ เครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG) และเครื่องตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) และอุปกรณ์จักษุ แหล่งนำเข้าหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา จีน เยอรมนี และญี่ปุ่น ประเทศไทยมีผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์ที่ขึ้นทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์ 965 ราย (ข้อมูล ณ เดือนมิถุนายน 2564) ในจำนวนนี้เป็นSME 98.0% คิดเป็น 19.1% ของรายได้ทั้งหมด อีก 2.0% เป็นผู้ผลิตรายใหญ่ คิดเป็น 80.9% ของรายได้โดยรวม (ปี2019; รูปที่ 5) (ผู้ผลิตรายใหญ่) เหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นบริษัทข้ามชาติ ได้แก่ Nipro (ประเทศไทย) HoyaOptics (ประเทศไทย) และ KawasumiLaboratories (ประเทศไทย) ในขณะเดียวกันมีผู้นำเข้าเครื่องมือแพทย์ที่ลงทะเบียนแล้วมากกว่า 2,000 ราย ตามข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา เครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในประเทศไทยไม่จำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีที่ซับซ้อน ผลผลิตหลักคือสินค้าพื้นฐานที่ใช้วัตถุดิบ เช่น ยางและพลาสติกที่มีอยู่ในตลาดภายในประเทศ 70% ของการผลิตทั้งหมดเพื่อการส่งออก


สภาพโดยรวมของโรงพยาบาลไทย

ประเทศไทยมีสถานพยาบาล 38,512 แห่ง โดย 35% เป็นของรัฐและ 65% เป็นของเอกชน 98.3% (37,848) เป็นสถานพยาบาลหลัก (สถานพยาบาล 9,800 แห่ง และคลินิก 28,048 แห่ง) ส่วนที่เหลือ 1.7% (667) เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง ได้แก่ โรงพยาบาลของรัฐ 297 แห่ง และโรงพยาบาลเอกชน 370 แห่ง ขนาด 36,000 เตียง (โรงพยาบาลเอกชน 116 แห่ง รวม 14,000 เตียง อยู่ในกรุงเทพฯ และที่เหลืออีก 254 แห่ง 22,000 เตียง อยู่ในต่างจังหวัดนอกกรุงเทพฯ) 90% ของโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ 22 แห่ง (มี 250 เตียงขึ้นไป) ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 7,162 เตียง ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชนขนาดกลาง 255 แห่ง มี 27,069 เตียง โรงพยาบาลเอกชนขนาดเล็ก (1-30 เตียง) 101 แห่ง มี 1,766 เตียง ในปี 2561 รายได้จากการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ของไทยสูงถึง 32,000 ล้านบาท

ในอีกแง่หนึ่ง ประเทศไทยตั้งใจที่จะเป็นศูนย์กลางดูแลสุขภาพของอาเซียนโดยใช้ประโยชน์จากข้อได้เปรียบในอุตสาหกรรมการแพทย์อย่างเต็มที่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโรงพยาบาลไทยใช้ระบบการดำเนินงานแบบตะวันตกทำให้ห่วงโซ่อุปทานของอุปกรณ์การแพทย์ในประเทศไทยถูกผูกขาดจากประเทศที่พัฒนาแล้วมาอย่างช้านานและขาดแคลนบุคลากรที่มีความสามารถด้านการขาย ในปัจจุบัน ยังไม่สามารถที่จะรวบรวมความได้เปรียบของอุปกรณ์ทางการแพทย์จากประเทศจีนและกลุ่มผู้บริโภคปลายทางเข้าด้วยกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

(1) แผนกที่รับผิดชอบการจัดซื้อจัดจ้างและประมูลสินค้ากระจัดกระจาย สินค้าบางรายการของโรงพยาบาลมีการจัดซื้อจากส่วนกลางโดยฝ่ายเภสัชกรรม ฝ่ายวิศวกรรมการแพทย์ และฝ่ายกิจการทั่วไปฯลฯ และรูปแบบการบริการจะยึดตามหลักการว่าใครเป็นคนรับผิดชอบคนนั้นเป็นคนจัดซื้อจัดจ้าง และการจัดการแบบครบวงจรยังไม่เกิดขึ้นได้จริง

(2) วิธีการจัดซื้อไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน แผนกการจัดการในโรงพยาบาลขาดมาตรฐานการจัดซื้อที่เหมือนกันและกฎการคัดเลือกสำหรับวิธีการจัดซื้อในโรงพยาบาล ด้วยเหตุนี้ แผนกการจัดการต่างๆ จึงเลือกวิธีการจัดซื้อที่แตกต่างกันสำหรับรายการจัดซื้อจัดจ้าง ในขณะเดียวกันก็ทำให้วิธีการจัดซื้อจัดจ้าง การเลือกแตกต่างกันไปตามแผนกที่ดำเนินการต่างๆ

(3) ไม่มีแพลตฟอร์มการจัดซื้อแบบครบวงจร

เนื่องจากขาดแพลตฟอร์มที่ครอบคลุมแบบครบวงจรสำหรับการจัดการข้อมูลการจัดซื้อ จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะเปิดเผย สร้างความเป็นธรรม และความโปร่งใสของข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้างอย่างเต็มที่

(4) มีการจัดซื้อจัดจ้างแบบ "พื้นที่ไร้ผู้ครอบครอง"

เนื่องจากแผนกจัดซื้อกระจัดกระจาย ทำให้การจัดซื้อตามแผนกไม่มีการจัดการแผนกแบบรวมศูนย์ และแผนกมีความประสงค์จะจัดซื้อเอง ทำให้เข้าใจนโยบายการจัดซื้อไม่เพียงพอ การจัดซื้อจัดจ้างไม่ได้มาตรฐานและเป็นมืออาชีพ จะนำความเสี่ยงมาสู่โรงพยาบาลได้

ปัญหาที่ต้องแก้ไขยังรวมถึง: จะสร้างกลไกการกำหนดราคาที่มีหลักการและสมเหตุสมผลอย่างไร จะดำเนินการจัดการราคาอย่างไร จะสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางคลินิกอย่างไร จะเพิ่มการทดแทนการนำเข้าอย่างไร จะป้องกันการขาดแคลนหลังจากลดราคาอย่างไร และ จะแก้ปัญหาความไม่สมดุลของข้อมูลในการจัดซื้อจากส่วนกลางอย่างไร เป็นต้น

โอกาสความร่วมมือของห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ระหว่างไทย-จีน

บริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ของจีนเข้ามาในประเทศไทยได้อย่างไร? บริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการเชื่อมความสัมพันธ์ด้านอุตสาหกรรมระดับไฮเอนด์ระหว่างจีนและไทย ดั่งคำว่าสะท้อนความตั้งใจตน ด้วยการไขว่คว้าโอกาสมาเป็นจุดเปลี่ยน เช่นเดียวกับรถยนต์พลังงานใหม่ อุตสาหกรรมการแพทย์เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มมากที่สุดในด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างจีน-ไทย อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ของไทยและจีนมีความเกื้อกูลกันอย่างมาก ประเทศไทยเป็นหนึ่งในจุดเริ่มต้นสู่สากลของอุปกรณ์การแพทย์จีน สถานการณ์ทางการเมืองของไทยค่อนข้างมีเสถียรภาพโดยมีความเสี่ยงด้านความปลอดภัยต่ำและมีขนาดตลาดที่ใหญ่ ตลาดอุปกรณ์การแพทย์ของไทยและสภาพแวดล้อมการลงทุน (รวมถึงสวัสดิการของประชากรก่อนเข้ามาการเข้ามาไทย นโยบายการแข่งขัน สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และแรงงาน ฯลฯ) ค่อนข้างเป็นบรรทัดฐาน และมีการดูแลในสถานการณ์"สามสิ่งที่ไม่ควรเกิด" นั่นคือไม่ปรับขนาดตามความต้องการ ไม่จัดการอย่างไม่โปร่งใส ไม่เติบโตพอในตลาด ในขณะเดียวกัน ประเทศไทยได้รวบรวมบุคลากรทางการแพทย์คุณภาพสูงซึ่งส่วนใหญ่ศึกษาในยุโรปและสหรัฐอเมริกา มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและโลจิสติกส์กระจายไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความสามารถในการสนับสนุนอุตสาหกรรมยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากความแตกต่างทางสรีระและลักษณะทางกายภาพระหว่างชาวเอเชียและชาวยุโรปและชาวอเมริกัน ผู้ผลิตจีนสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับแพทย์และผู้ป่วยชาวไทยตามความต้องการของแผนกในโรงพยาบาล ซึ่งยังเป็นเรื่องยากมากสำหรับโรงงานผลิตที่นำเข้าจากประเทศตะวันตก นั่นเพราะผู้ผลิตจีนมีการกำหนดมาตรการที่เหมาะสมซึ่งสอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในแต่ละพื้นที่


ศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ไทย-จีน ณ มหาวิทยาลัยสยาม ช่วยเหลือบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ของจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทย


ศูนย์ความร่วมมือด้านนวัตกรรม กรุงเทพฯ แห่งสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน มหาวิทยาลัยสยาม บริษัททัสพาร์ค สมาคมนักธุรกิจไทย-จีน และ บริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์ ได้ร่วมกันจัดตั้งศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ระหว่างไทย-จีน (ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนแพลตฟอร์มและทรัพยากร ด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพทย์และการบูรณาการระหว่างไทย-จีน ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจจะให้บริการแพลตฟอร์มการขายสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ของจีนผ่านเงินทุน เทคโนโลยี การเข้าสู่ตลาด ช่องทางการตลาด และบริการระดับมืออาชีพ พร้อมจัดหาแพลตฟอร์มบริการสำหรับบริษัทเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการบูรณาการของอุตสาหกรรมการแพทย์ระหว่างไทยและจีน และส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ระหว่างจีน-ไทย


เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน การประชุมแลกเปลี่ยนเศรษฐกิจและการค้าจีน (กวางตุ้ง)-ไทย ประจำปี 2566 ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง! คุณหวัง เหว่ยจง ผู้ว่าการมณฑลกวางตุ้ง นายหาน จื้อเฉียง เอกอัครราชทูตวิสามัญผู้มีอำนาจเต็มแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำราชอาณาจักรไทย นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ผู้ว่าราชการจังหวัดกรุงเทพมหานคร ดร. จุฬา สุขมานพ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และผู้นำท่านอื่น ๆ เข้าร่วมพร้อมกล่าวสุนทรพจน์ พันธมิตรบางส่วนของศูนย์ความร่วมมือทางการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยสยามได้รับเชิญให้เข้าร่วม โดยมีนายวุฒิพงษ์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ยืนอยู่ตรงกลาง

การวางตำแหน่งโครงการ ความตั้งใจเดิมของโครงการคือการส่งเสริมระบบภายในและมาตรฐานที่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน พร้อมการปฏิบัติตามกฎระเบียบที่สอดคล้องกัน ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องในอดีตของห่วงโซ่อุปทานระหว่างจีน-ไทย และสร้างห่วงโซ่อุตสาหกรรม ห่วงโซ่คุณค่า และ รูปแบบธุรกิจใหม่ ในอุตสาหกรรมแนวดิ่ง (Vertical Industry) ของการแพทย์จีน-ไทย สร้างแพลตฟอร์มบริการระหว่างประเทศ (ศูนย์บ่มเพาะธุรกิจ) ซึ่งทำหน้าที่ได้ดีในการป้องกันความเสี่ยง บูรณาการทรัพยากรตลาดจีนและไทย ใช้กฎการตลาดของอุปกรณ์การแพทย์สากลพร้อมการบูรณาการ และเจาะห่วงโซ่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์จีน-ไทยผ่านบริการระหว่างประเทศที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้บริษัททางการแพทย์ของประเทศจีนสามารถดำเนินการกิจการในประเทศไทยได้สำเร็จ อำนวยความสะดวกในการสื่อสารโดยตรงระหว่างผู้ใช้และผู้ผลิต ปรับปรุงความเร็วในการตอบสนองขององค์กรต่อความต้องการของตลาด มีกระบวนการที่สั้น ตั้งแต่การผลิตจนถึงปลายทางของผู้ใช้ ราคาต่ำ และเพิ่มมูลค่าสูงสุด พร้อมสร้างการควบคุมแบบปิดและห่วงโซ่ระบบนิเวศของอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทย เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมการแพทย์ของจีนและไทย และสนับสนุนประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการดูแลสุขภาพของอาเซียน

การกำหนดธุรกิจพื้นฐานของโครงการ:

- ศูนย์การจัดซื้อวัสดุสิ้นเปลืองทางการแพทย์

- ศูนย์บริการหลังการขายระหว่างประเทศ

- ศูนย์บริการการลงทุนสำหรับบริษัท

โครงการเสริมสร้างการแลกเปลี่ยนความร่วมมือกับองค์กรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ในประเทศไทยและจีน

- รัฐบาล: กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งชาติ กองทะเบียนเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาแห่งชาติ

- วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย: วางรากฐานการศึกษาบุคลากรวิชาชีพและเทคนิคระดับชาติ (เครื่องมือแพทย์) สถาบันให้คำปรึกษาและฝึกอบรมสำหรับบุคลากรระดับผู้บริหารระดับสูงในด้านอุปกรณ์การแพทย์ (ระบบการควบคุมยา ผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้บริหารองค์กรเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ)

- องค์กรอุตสาหกรรม: สมาคมอุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ สมาคมวิจัยการกำกับดูแลและการจัดการยา สมาคมผู้ประกอบการเครื่องมือแพทย์ สถาบันวิจัยเครื่องมือแพทย์กลุ่มเภสัชกรรม, สมาคมเครื่องมือแพทย์ ฯลฯ

- บริษัทเครื่องมือแพทย์รายสำคัญ: บริษัทเครื่องมือแพทย์ชั้นนำในไทยและจีนขับเคลื่อนความร่วมมือห่วงโซ่อุตสาหกรรม

- สื่อมวลชนมืออาชีพ


สถาบันKinoness Business



ทีมงานบริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์ กระชับความร่วมมือและการแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย




ทีมงานบริษัทเอไอ ธิงค์แท้งค์ได้กระชับความร่วมมือกับโรงพยาบาลและสถานพยาบาลที่มีชื่อเสียงในประเทศไทยเพื่อดำเนินการตรวจรักษาโรคฟรี


ที่มา:https://mp.weixin.qq.com/s/YWA9WViTpk0aLRn3Bwzkng

ดู 61 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page