top of page
รูปภาพนักเขียนAI Think Tank

เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าไร้สายที่สามารถยึดติดบนร่างกายได้

วันที่ 24 ธันวาคม 2565


หลังจากผ่าตัดหัวใจจะต้องติดตั้งเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าชั่วคราว เพื่อช่วยประคองการทำงานของหัวใจ แต่เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าเหล่านี้โดยปกติแล้วจะต้องเชื่อมกับสายด้านนอก และหลังจากที่รับการรักษาเสร็จสิ้นแล้วจะต้องเอาสายเหล่านี้ออกด้วย ซึ่งขั้นตอนการทำงานแบบนี้เป็นการเพิ่มความเสี่ยงมากขึ้น

นักวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น เปิดตัวเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าไร้สาย ที่ไม่เป็นอันตรายต่อระบบภายในร่างกาย อีกทั้งยังลดการทำให้ผู้ป่วยบาดเจ็บเป็นครั้งที่สองได้

นอกจากนั้นแล้ว ตัวเครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้ายังสามารถยึดติดได้แบบไร้สายพร้อมกับหัวเชื่อมติดผิวหนังสี่ส่วนรวมเข้าด้วยกันเป็น “เทคโนโลยีสื่อสารไร้สาย(body area network)” โดยตัวเซ็นเซอร์จะถูกวางไว้บริเวณอก คอ หน้าผาก แขน ซึ่งตัวเครื่องจะตรวจสอบอุณหภูมิร่างกาย ค่าออกซิเจน การหายใจ และคลื่นไฟฟ้าของหัวใจอย่างต่อเนื่อง หลังจากนั้นระบบจะทำการคำนวณเพื่อวิเคราะห์การทำงานของสัญญาณชีพเหล่านี้ ซึ่งง่ายต่อการสังเกตการเต้นของหัวใจที่ผิดปกติและชี้ให้เห็นว่าหัวใจเต้นเร็วหรือช้าเพียงใด และข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งต่อไปยังโทรศัพท์อัจฉริยะหรือหน้าจอคอมพิวเตอร์ ซึ่งแพทย์สามารถสังเกตผู้ป่วยได้ในระยะไกล











ดู 23 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page